การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดยะลา
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดยะลา ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดยะลา จำนวน 103,348 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 178 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 จากการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.3 อายุ 31-45 ปี ร้อยละ 46.89 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 61.59 สถานภาพสมรส ร้อยละ 63.28 ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ร้อยละ 28.41 อาชีพรับจ้างร้อยละ 37.85 รายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 50,000 บาท ร้อยละ 51.33 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 21-30 ปี ร้อยละ 31.58 บทบาททางสังคมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 26.71 เป็นผู้นำกลุ่มหรือชุมชน ร้อยละ 6.82 เป็น อสม.ร้อยละ 43.75 การรับรู้โดยรู้จักกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ร้อยละ 70.06 ส่วนใหญ่คนอื่นพูดให้ฟัง ร้อยละ 61.29 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะเป็นจากบุคคล/ญาติ/ผู้นำชุมชน ร้อยละ 52.81 กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เห็น/รับรู้/เข้าร่วม คือส่งเสริมสุขภาพชักชวนให้ประชาชนออกกำลังกาย ร้อยละ 67.42 การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง 2) คุณลักษณะทางประชากรและสังคม ได้แก่ บทบาททางสังคม การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.01 และ 3) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรม ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนเข้าถึง มีการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.3 อายุ 31-45 ปี ร้อยละ 46.89 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 61.59 สถานภาพสมรส ร้อยละ 63.28 ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ร้อยละ 28.41 อาชีพรับจ้างร้อยละ 37.85 รายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 50,000 บาท ร้อยละ 51.33 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 21-30 ปี ร้อยละ 31.58 บทบาททางสังคมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 26.71 เป็นผู้นำกลุ่มหรือชุมชน ร้อยละ 6.82 เป็น อสม.ร้อยละ 43.75 การรับรู้โดยรู้จักกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ร้อยละ 70.06 ส่วนใหญ่คนอื่นพูดให้ฟัง ร้อยละ 61.29 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะเป็นจากบุคคล/ญาติ/ผู้นำชุมชน ร้อยละ 52.81 กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เห็น/รับรู้/เข้าร่วม คือส่งเสริมสุขภาพชักชวนให้ประชาชนออกกำลังกาย ร้อยละ 67.42 การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง 2) คุณลักษณะทางประชากรและสังคม ได้แก่ บทบาททางสังคม การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.01 และ 3) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรม ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนเข้าถึง มีการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา
Refbacks
- There are currently no refbacks.