การศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส
Abstract
ประชากรที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเป็นชาวมุสลิมซึ่งมีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองซึ่งแตกต่างจากประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาค อื่นๆในประเทศ และสื่อสารโดยใช้ภาษาแม่ของตนเองคือภาษามลายู โดยมีภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ส่วนภาษาอังกฤษนั้นถือเป็นภาษาที่สามที่เรียนเมื่อเข้าเรียนในโรงเรียน จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือ การสำรวจความต้องการและทัศนคติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาสต่อการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สาม และสำรวจทัศนคติต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามของอาจารย์และผู้ปกครองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 118 คน ครู 4 คน และผู้ปกครอง 10 คน ซึ่งคัดเลือกจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามและการสังเกต
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้มากขึ้น โดยเฉพาะทักษะการพูดและการอ่าน นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สาม และต้องการภาษาอังกฤษจากสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายในชั้นเรียน นอกจากนี้ผลวิจัย ยังแสดงให้เห็นความเชื่อของอาจารย์ว่านักเรียนจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะด้านการเขียนและการอ่านเพิ่มขึ้น
ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควรปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่เพื่อสนองความต้องการของนักเรียนและแก้ปัญหาที่นักเรียนรับรู้โดยจัดหากิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของนักเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จมากขึ้น
คำสำคัญ: โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สาม ความต้องการ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้มากขึ้น โดยเฉพาะทักษะการพูดและการอ่าน นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สาม และต้องการภาษาอังกฤษจากสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายในชั้นเรียน นอกจากนี้ผลวิจัย ยังแสดงให้เห็นความเชื่อของอาจารย์ว่านักเรียนจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะด้านการเขียนและการอ่านเพิ่มขึ้น
ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควรปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่เพื่อสนองความต้องการของนักเรียนและแก้ปัญหาที่นักเรียนรับรู้โดยจัดหากิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของนักเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จมากขึ้น
คำสำคัญ: โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สาม ความต้องการ
Refbacks
- There are currently no refbacks.