การทบทวนวรรณกรรม : แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง

ไมตรี ยอดแก้ว, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, ศรีสุดา วนาลีสิน

Abstract


 การผ่าตัดเป็นวิธีหนึ่งของการรักษา การวินิจฉัยโรค และตรวจค้นสิ่งผิดปกติในร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดก็เป็นหัตถการที่มักจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ป่วยเกี่ยวกับการคาดหมายต่างๆ กับเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การศึกษาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังจึงมีความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อลดความวิตกกังวล
 วิธีการศึกษา เป็นการทบทวนวรรณกรรม โดยสืบค้นวรรณกรรมส่วนใหญ่จากฐานข้อมูล Pub Med,  Thai health, Anesthesia-analgesia, Lib Med., Psu.ac.th และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าต้องเป็นการศึกษาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง  จากงานวิจัยทั้งหมด 11 เรื่อง พบว่าแนวทางปฎิบัติในการลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัดและระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังอย่างมีประสิทธิผล คือ ดนตรีบำบัด, การให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดร่วมกับการฟังดนตรี, การฟังเทปเทคนิคหายใจผ่อนคลายร่วมกับเสียงดนตรี, การใช้ดนตรีร่วมกับยาคลายกังวล, การให้คำปรึกษาแบบกระชับ, และการใช้นวัตกรรมลูกบอลคลายเครียด นอกจากนั้นยังพบว่า มีงานวิจัยจำนวน 4 เรื่องที่ได้เสนอว่า ควรมีดนตรีร่วมกับการบำบัดวิธีอื่น เช่น การใช้ดนตรีร่วมกับการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัด การฟังเทปเทคนิคหายใจผ่อนคลายร่วมกับเสียงดนตรี การใช้ดนตรีร่วมกับยาคลายกังวล และยังพบว่า ได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง 9 เรื่องเป็นการศึกษาเชิงบรรยาย 1 เรื่องและเป็นการวิเคราะห์เมต้างานวิจัย (Meta-analysis) 1 เรื่อง
 แนวทางการปฏิบัติเพื่อลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังที่มีประสิทธิผลมีหลายวิธี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการและความพึงพอใจของผู้ป่วย รวมถึงบริบท องค์ประกอบต่างๆของแต่ละพื้นที่ ความพร้อมของหน่วยงาน และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการการคำนึงถึงความปลอดภัย และความพึงพอใจเป็นสำคัญ
คำสำคัญ: แนวทางปฏิบัติการพยาบาล  ความวิตกกังวลขณะผ่าตัด  ระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.