การตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมของยางพาราในหลอดทดลองโดยเครื่องหมาย Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD)

วุฒิชัย ศรีช่วย, สมปอง เตชะโต

Abstract


ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย จากความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงแคลลัส และชักนำโซมาติกเอ็มบริโอจากการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสรของยางพารา โคลน 2-NR โดยใช้อาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) เติม
น้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) เข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร kinetin (KN) เข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ ?-naphthaleneacetic acid (NAA) เข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และชักนำ โซมาติกเอ็มบริโอจากแคลลัสอายุ 8 
สัปดาห์ บนอาหารสังเคราะห์สูตร MS เติมน้ำตาลซูโครส 3 เปอร์เซ็นต์ 6-benzyladenine (BA) เข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร KN เข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อลิตร NAA เข้มข้น 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ gibberellic acid (GA3) เข้มข้น 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร 
เมื่อนำแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอที่ชักนำได้ มาตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับต้นแม่โดยเครื่องหมาย RAPD ใช้ไพรเมอร์จำนวน 7 ไพรเมอร์ คือ OPAB-01, OPAD-01, OPAD-10, OPB-17, OPN-16, OPR-02 และ 
OPZ-04 พบว่า ไพรเมอร์ OPZ-04 ให้แถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างในตัวอย่างดีเอ็นเอที่สกัดจากแคลลัส แสดงว่าแคลลัสที่ชักนำได้มีความแปรปรวนทางพันธุกรรม ดังนั้นการใช้เทคนิค RAPD และไพรเมอร์ OPZ-04 สามารถนำมาใช้ในการตรวจ
สอบการตรงตามพันธุ์ของต้นยางพาราจากกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้คำสำคัญ : ยางพารา   ความแปรปรวนทางพันธุกรรม   เครื่องหมาย RAPD   โซมาติกเอ็มบริโอเจนิซีส

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.