การศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร

อุมาพร แซ่กอ, ชนกพร จิตปัญญา

Abstract


การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และ 2) เปรียบเทียบความตระหนักรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ
สมรส ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจ จำนวน 384 คน แผนกผู้ป่วยนอกจากโรงพยาบาล 4 แห่ง 
เขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่มี 3 องค์ประกอบ คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยว
กับโรคหลอดเลือดสมอง ความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และ แบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบเนื้อหา โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .88 .85 .85 และ.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีความตระหนักรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 36.42 (S.D. = 5.31) และ 2. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบตาม อายุ (F = 8.28, p <.05) ระดับการศึกษา (F= 25.71, p <.05) รายได้ (F= 22.27, p<.05) และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองด้านปัจจัยเสี่ยง (F=32.07, p<.05) ด้านอาการเตือน 
(F=29.30, p <.05) และด้านการรักษา (F=23.98, p <.05)คำสำคัญ : ความตระหนักรู้   โรคหลอดเลือดสมอง   กลุ่มเสี่ยง

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.