ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาการ การจัดการตนเอง ค่านิยมด้านสุขภาพ ความเข้มแข็งในการมองโลก และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มอาการ การจัดการตนเอง ค่านิยมด้านสุขภาพ ความเข้มแข็งในการมองโลก กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของ Wilson & Cleary (1995) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดที่เข้ารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลตำรวจ และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จำนวน 126 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินกลุ่มอาการ แบบประเมินการจัดการตนเอง แบบประเมินค่านิยมด้านสุขภาพ แบบประเมินความเข้มแข็งในการมองโลก และแบบประเมินคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .89, .81, .72, .83 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับดี (X=562.87, SD = 152.27) 2) กลุ่มอาการ และการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.65, r= -.31) 3) ค่านิยมด้านสุขภาพ และความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.25, และ .47) ตามลำดับ
คำสำคัญ : การจัดการตนเอง ความเข้มแข็งในการมองโลก คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับดี (X=562.87, SD = 152.27) 2) กลุ่มอาการ และการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.65, r= -.31) 3) ค่านิยมด้านสุขภาพ และความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.25, และ .47) ตามลำดับ
คำสำคัญ : การจัดการตนเอง ความเข้มแข็งในการมองโลก คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
Refbacks
- There are currently no refbacks.