ผลของ KWL Plus ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนสองภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วัชรี แก้วสาระ, อริยา คูหา, ชิดชนก เชิงเชาว์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอนด้วย KWL Plus กับการสอนแบบปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนของนักเรียนสองภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนบ้านแหร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา  เขต 3 จำนวน 48 คน จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24  คน ใช้เวลาในการสอนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วทดสอบด้วยค่าเฉลี่ย  (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (One Way ANOVA) พบว่า กลุ่มนักเรียนสองภาษาที่เรียนด้วย KWL Plus จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนสองภาษาที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่น่าสนใจ คือ การรับรู้ความสามารถในการเรียนของนักเรียนสองภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วย KWL Plus สูงกว่านักเรียนสองภาษาที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: การสอนด้วย KWL Plus   วิชาภาษาไทย  การรับรู้ความสามารถในการเรียน  นักเรียนสองภาษา

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.