ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ภาระงานและความสามารถในการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัยกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพ จังหวัดตรัง
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ภาระงาน และความสามารถในการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดตรัง (2) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพของสถานีอนามัยในจังหวัดตรัง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ภาระงานและความสามารถในการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัยกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจังหวัดตรัง และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารงาน ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดตรัง จำนวน 125 คน ศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของหัวหน้าสถานีอนามัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47.09 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 58.4 ระยะเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่เฉลี่ย 14.29 ปี ด้านภาระงานพบว่า มีจำนวนเจ้าหน้าที่ เฉลี่ย 3.58 คน มีจำนวนประชากรมีรับผิดชอบ เฉลี่ย 4,112 คน ปัจจัยความสามารถด้านการบริหารของหัวหน้าสถานีอนามัยในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับสูง ยกเว้น ด้านการบริหารงานบุคคล อยู่ระดับปานกลาง (2) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพของสถานีอนามัย โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยความสามารถในการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัยในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยภาระงานด้านจำนวนประชากรที่รับผิดชอบมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) ปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญคือ งบประมาณล่าช้า และไม่เพียงพอ ระบบรายงานมีมากและซับซ้อน และเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ คือ สาธารณสุขจังหวัดควรเร่งรัดการจ่ายงบประมาณและจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ควรปรับปรุงระบบรายงาน และควรใช้จำนวนประชากรที่รับผิดชอบเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรบุคลากรเพื่อความครอบคลุม
คำสำคัญ : ภาระงาน ความสามารถบริหารงาน, ตัวชี้วัด, โครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพ
ผลการศึกษา พบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของหัวหน้าสถานีอนามัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47.09 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 58.4 ระยะเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่เฉลี่ย 14.29 ปี ด้านภาระงานพบว่า มีจำนวนเจ้าหน้าที่ เฉลี่ย 3.58 คน มีจำนวนประชากรมีรับผิดชอบ เฉลี่ย 4,112 คน ปัจจัยความสามารถด้านการบริหารของหัวหน้าสถานีอนามัยในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับสูง ยกเว้น ด้านการบริหารงานบุคคล อยู่ระดับปานกลาง (2) ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพของสถานีอนามัย โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยความสามารถในการบริหารงานของหัวหน้าสถานีอนามัยในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยภาระงานด้านจำนวนประชากรที่รับผิดชอบมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) ปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญคือ งบประมาณล่าช้า และไม่เพียงพอ ระบบรายงานมีมากและซับซ้อน และเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ คือ สาธารณสุขจังหวัดควรเร่งรัดการจ่ายงบประมาณและจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ควรปรับปรุงระบบรายงาน และควรใช้จำนวนประชากรที่รับผิดชอบเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรบุคลากรเพื่อความครอบคลุม
คำสำคัญ : ภาระงาน ความสามารถบริหารงาน, ตัวชี้วัด, โครงการตำบลอยู่ดีมีสุขด้านสุขภาพ
Refbacks
- There are currently no refbacks.