ความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย

ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, มณีรัตน์ ภาคธูป, นุจรี ไชยมงคล

Abstract


 ย่างเป็นวัยรุ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 400 คน โดยเก็บข้อมูลใน พ.ศ. 2553 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 จากการหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบด้วยการทดสอบสถิติที แบบอิสระ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
 ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นมีคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลกค่อนไปทางสูง และพบว่า วัยรุ่นที่มีอายุ < 15 ปี มีความเข้มแข็งในการมองโลก ต่ำกว่าวัยรุ่นที่มีอายุ ≥ 15 ปี วัยรุ่นที่มีรายได้ของครอบครัว ≤ 10,000 บาท/เดือน มีความเข้มแข็งในการมองโลกต่ำกว่าวัยรุ่นที่มีรายได้ของครอบครัว >10,000 บาท/เดือน วัยรุ่นที่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบจากสื่อและผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้มแข็งในการมองโลกสูงกว่าวัยรุ่นที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบด้วยตนเอง/ญาติพี่น้อง และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม มีความเข้มแข็งในการมองโลก สูงกว่าวัยรุ่นที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลควรส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี ครอบครัวมีรายได้น้อย และตนเอง/ญาติพี่น้องประสบเหตุการณ์ความไม่สงบโดยตรง และควรศึกษาปัจจัยด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งในการมองโลก โดยขยายกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นในเขตอำเภออื่น ๆ ด้วย
คำสำคัญ : วัยรุ่น   ความเข้มแข็งในการมองโลก   3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.