ความต้องการการดูแลทางจิตวิญญาณด้านการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นและพลังนอกเหนือตนของผู้ป่วยมุสลิมที่เคยเข้ารับการผ่าตัดในแผนกศัลยกรรมทั่วไปโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย

จุรีย์ ธีรัชกุล, อนงค์ ภิบาล, อุไร หัถกิจ

Abstract


ความต้องการทางจิตวิญญาณ หากได้รับการตอบสนองบุคคลก็จะเกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับความต้องการการดูแลทางจิตวิญญาณด้านการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นและพลังนอกเหนือตน พร้อมเปรียบเทียบระดับความต้องการการดูแลทางจิตวิญญาณระหว่างมิติ ของผู้ป่วยมุสลิมที่เคยเข้ารับการผ่าตัดในแผนกศัลยกรรมทั่วไปโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 339 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการการดูแลทางจิตวิญญาณมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
( = 4.64,  S.D. = 0.14) แต่ความต้องการการดูแลในมิติความสัมพันธ์ที่ดีกับอัลลอฮ์คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( = 4.72,  S.D. = 0.20) และเมื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการระหว่างมิติพบว่า ความต้องการการดูแลในมิติความสัมพันธ์ที่ดีกับอัลลอฮ์สูงกว่ามิติอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลของการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลทางจิตวิญญาณให้กับผู้ป่วยมุสลิมควรให้ความสำคัญกับการแสดงออกเพื่อการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เพื่อสนองตอบความต้องการที่สอดคล้องกับแนวคิดและหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

คำสำคัญ: ความต้องการการดูแลทางด้านจิตวิญญาณ จังหวัดชายแดนใต้ ผู้ป่วยมุสลิม

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.