ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

ปวิตรา จริยสกุลวงศ์, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, วีรนุช รอบสันติสุข

Abstract


วิจัยครั้งนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และอิทธิพลระหว่างบุคคล  ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุ 20 – 40 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 78 ราย เครื่องมือ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค และแบบสอบถามอิทธิพลระหว่างบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (x= 2.48, S.D. = 0.29) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 22.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .228, p < .01) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ คือ อิทธิพลระหว่างบุคคล (b = .338, p < .01) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ (b = .309, p < .01) ดังนั้นพยาบาลควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ภาวะสุขภาพที่ดี และส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว เพื่อน รวมถึงบุคลากรทางสุขภาพ มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ความดันโลหิตสูง  ผู้ใหญ่ตอนต้น  พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ  การรับรู้ภาวะสุขภาพ  อิทธิพลระหว่างบุคคล

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.