ผลของโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางร่วมกับการใช้ศิลปะ ต่อความเครียดของเด็กกำพร้าจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

ฟูรียา เบ็ญฮาวัน, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, ถนอมศรี อินทนนท์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางร่วมกับการใช้ศิลปะต่อความเครียดของเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กกำพร้าที่สูญเสียบิดาและ/หรือมารดาจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ในจังหวัดยะลา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน โดยสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ร่วมกับการใช้ศิลปะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีจำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง วันเว้นวัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความเครียด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ ร้อยละ และWilcoxon Signed-Ranks Test

ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความเครียดของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ร่วมกับการใช้ศิลปะ ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ดังนั้น       ควรสนับสนุนให้บุคลากรด้านสาธารณสุขหรือทีมเยียวยา ได้ใช้โปรแกรมการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางร่วมกับการใช้ศิลปะเพื่อลดความเครียดของเด็กกำพร้า

คำสำคัญ :  การให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง  การใช้ศิลปะ ความเครียด เด็กกำพร้า


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.