ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

จิราวรรณ กุมขุนทศ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมต่อความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้แนวคิดพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการตรวจรักษาตามนัด ณ คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและแบบสอบความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .70, .75, .81, .94 ตามลำดับ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก  ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88) มีความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม 2) เจตคติต่อพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียมอยู่ในระดับดี  (x=28.57, S.D.=2.11) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับสูง (x=13.91, S.D.=1.77) และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง (x=30.77, S.D.=3.91) 3) ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียมของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (OR=1.72, 95%CI=1.14-2.61) และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (OR=1.68, 95%CI=1.27-2.22)คำสำคัญ : ภาวะหัวใจล้มเหลว เจตคติต่อพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถใน การควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.