อิทธิพลของความผูกพันรักใคร่ ระหว่างมารดา-ทารก ที่มีต่อการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

วนิสา หะยีเซะ, ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, นุจรี ไชยมงคล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก ที่มีต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักตัว และความยาวลำตัวของทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งหมด 67 คู่ เป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผูกพัน รักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.93 และแบบบันทึกการเจริญเติบโตของทารก ประกอบด้วย น้ำหนักตัว ความยาวลำตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า : คะแนนเฉลี่ยความผูกพันรักใคร่ ระหว่างมารดา-ทารกอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 3.13 (S.D. = 0.279) และการเจริญเติบโตทารกซึ่งประกอบด้วย น้ำหนักตัวเฉลี่ยที่ 2,000 กรัม (S.D. = 359.15) และความยาวลำตัวเฉลี่ยที่ 43.13 เซนติเมตร (S.D. = 2.86) นอกจากนี้ยังพบว่า ความผูกพันรักใคร่ ระหว่างมารดา-ทารก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักตัวทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.28, p<.05) และสามารถร่วมทำนายน้ำหนักตัวทารก ได้ร้อยละ 79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = 0.79, *p < 0.001) แต่ไม่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลการทำนายกับความยาวลำตัวทารก (p > .05)ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารกยิ่งเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวของทารกเกิดก่อนกำหนดก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น พยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดกิจกรรมหรือโครงการการดูแลมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดในการส่งเสริมความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก และนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักตัวทารกให้มากขึ้นคำสำคัญ : การเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด  ความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก หออภิบาลทารกแรกเกิด

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.