สภาพการใช้น้ำบาดาลและปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการใช้น้ำบาดาล ปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส และเพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 122,332 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้น้ำบาดาลของผู้ใช้น้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจกับสภาพการใช้น้ำบาดาลในปัจจุบัน เพราะน้ำบาดาลมีความเพียงพอต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน ประชาชน
ใหญ่ใช้น้ำบาดาลในการอุปโภค (น้ำใช้) ทั้งนี้ การเจาะบ่อน้ำบาดาลจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก ด้านปัญหาคุณภาพน้ำบาดาล พบว่า ส่วนใหญ่สีของน้ำบาดาลใส แต่บางพื้นที่ มีสีเหลืองอ่อน มีความขุ่นเล็กน้อย รสชาติจืด แต่ในบางพื้นที่มีรสชาติฝาด
ส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งเจือปน แต่บางพื้นที่มีทรายและสนิมเหล็กเจือปน ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านกลิ่น แต่บางพื้นที่มีกลิ่นสนิม ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล ประชาชนมักจะใช้วิธีการต้ม และรองลงมาใช้วิธีการกรอง
เพื่อทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยในการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการใช้น้ำบาดาล ปัญหาคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอใกล้เคียง และศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำบาดาลของหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการ
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสคำสำคัญ : สภาพการใช้น้ำบาดาล ปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาล แนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำบาดาล
ประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 122,332 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้น้ำบาดาลของผู้ใช้น้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจกับสภาพการใช้น้ำบาดาลในปัจจุบัน เพราะน้ำบาดาลมีความเพียงพอต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน ประชาชน
ใหญ่ใช้น้ำบาดาลในการอุปโภค (น้ำใช้) ทั้งนี้ การเจาะบ่อน้ำบาดาลจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก ด้านปัญหาคุณภาพน้ำบาดาล พบว่า ส่วนใหญ่สีของน้ำบาดาลใส แต่บางพื้นที่ มีสีเหลืองอ่อน มีความขุ่นเล็กน้อย รสชาติจืด แต่ในบางพื้นที่มีรสชาติฝาด
ส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งเจือปน แต่บางพื้นที่มีทรายและสนิมเหล็กเจือปน ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านกลิ่น แต่บางพื้นที่มีกลิ่นสนิม ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล ประชาชนมักจะใช้วิธีการต้ม และรองลงมาใช้วิธีการกรอง
เพื่อทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยในการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการใช้น้ำบาดาล ปัญหาคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่อำเภอใกล้เคียง และศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำบาดาลของหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการ
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสคำสำคัญ : สภาพการใช้น้ำบาดาล ปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาล แนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำบาดาล
Refbacks
- There are currently no refbacks.