ปัจจัยทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วย
หายใจสำเร็จ ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 101 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและปัจจัยอุปสรรคการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ได้แก่ การติดเชื้อ การผ่าตัดขณะหย่า
เครื่องช่วยหายใจ ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ และการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ (2) แบบประเมินระดับความรุนแรงความเจ็บป่วยทางสรีรวิทยา (APACHE II Score) (3) แบบบันทึกจำนวนวันการหย่าเครื่องช่วย
หายใจสำเร็จ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หลังจากนั้นปรับแก้ไขและนำแบบบันทึกส่วนที่สองไปหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณ สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อ (=0.52) ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิต (b=0.32) โซเดียมในเลือด (b=-0.23) อายุ (b=-0.21) การผ่าตัดขณะหย่าเครื่อง
ช่วยหายใจ (b=-0.16) APACHE II Score (b=-0.15) และ ความปวด (b=-0.13) โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted R2 = .649, p < 0.05) ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมให้มีระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจลดน้อยลง พยาบาลและทีมสุขภาพควรเพิ่มการป้องกันและจัดการกับปัจจัยอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อ ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิต ระดับ
โซเดียมในเลือด ระดับความรุนแรงความเจ็บป่วยทางสรีรวิทยา และความปวด คำสำคัญ : ปัจจัย การหย่าเครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ
หายใจสำเร็จ ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 101 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและปัจจัยอุปสรรคการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ได้แก่ การติดเชื้อ การผ่าตัดขณะหย่า
เครื่องช่วยหายใจ ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ และการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ (2) แบบประเมินระดับความรุนแรงความเจ็บป่วยทางสรีรวิทยา (APACHE II Score) (3) แบบบันทึกจำนวนวันการหย่าเครื่องช่วย
หายใจสำเร็จ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หลังจากนั้นปรับแก้ไขและนำแบบบันทึกส่วนที่สองไปหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณ สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อ (=0.52) ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิต (b=0.32) โซเดียมในเลือด (b=-0.23) อายุ (b=-0.21) การผ่าตัดขณะหย่าเครื่อง
ช่วยหายใจ (b=-0.16) APACHE II Score (b=-0.15) และ ความปวด (b=-0.13) โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted R2 = .649, p < 0.05) ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมให้มีระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจลดน้อยลง พยาบาลและทีมสุขภาพควรเพิ่มการป้องกันและจัดการกับปัจจัยอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อ ความไม่คงที่ของระบบไหลเวียนโลหิต ระดับ
โซเดียมในเลือด ระดับความรุนแรงความเจ็บป่วยทางสรีรวิทยา และความปวด คำสำคัญ : ปัจจัย การหย่าเครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ
Refbacks
- There are currently no refbacks.