ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาในไอซียู

นริสา สะมาแอ, กิตติกร นิลมานัต, วราภรณ์ คงสุวรรณ

Abstract


การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายในไอซียู ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ดูแลหลักมุสลิมที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย
วิกฤตระยะสุดท้ายและได้เสียชีวิตในไอซียู จำนวน 8 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของแวน มาเนน (Van Manen) ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายมี 4 กิจกรรมดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้อยู่ใกล้ชิดกับพระเจ้าตลอดเวลา 2) อยู่ดูแลใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว 3) ส่งเสริมความสุขสบาย และ 4) 
บรรเทาความทุกข์ทรมานตามความเชื่อ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแลหลักมีดังนี้ 1) ธรรมเนียมการปฏิบัติของพยาบาลกับความต้องการของผู้ดูแลไม่สอดคล้องกัน 2) การให้ข้อมูลของแพทย์และพยาบาลไม่ชัดเจน และ 3) 
ความปลอดภัยของผู้ดูแลหลักจากการที่ไม่มีที่พัก ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติระยะระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาในไอซียู ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการ
ให้การพยาบาลผู้ดูแลหลักมุสลิมผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้ายให้สอดคล้องกับความต้องการ ความเชื่อ และพัฒนาการพยาบาลสู่การพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ : ผู้ดูแลหลักมุสลิม  ผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย  แผนกไอซียู

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.