ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ผู้สูญเสียญาติพี่น้อง และผู้สูญเสียทรัพย์สิน จำนวน 234 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และศึกษาปัจจัยที่ทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลาโดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุหลายขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.5 และมีคุณภาพชีวิตระดับดี ร้อยละ 13.2 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 24.8 และคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับไม่ดีมากที่สุด ร้อยละ 15.8 เมื่อวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ ระหว่างคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดยะลา กับปัจจัยต่าง ๆ พบว่า มี 7 ปัจจัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ( b= .302) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ (b = -.239) ผู้มีความพิการในปัจจุบัน (b = -.138) ระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ( b= -.228) สถานภาพสมรสหม้าย ( b= -.285) ระยะเวลาหลังเหตุการณ์ ( b= -.167) และสถานภาพสมรสคู่ ( b= -.195) ปัจจัยดังกล่าวสามารถ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลาได้ร้อยละ 25.2 (R2adj = .252) ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลาควรมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกด้านให้กับผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ปัจจัยทำนาย คุณภาพชีวิต ผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ
ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.5 และมีคุณภาพชีวิตระดับดี ร้อยละ 13.2 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 24.8 และคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับไม่ดีมากที่สุด ร้อยละ 15.8 เมื่อวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ ระหว่างคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดยะลา กับปัจจัยต่าง ๆ พบว่า มี 7 ปัจจัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ( b= .302) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ (b = -.239) ผู้มีความพิการในปัจจุบัน (b = -.138) ระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ( b= -.228) สถานภาพสมรสหม้าย ( b= -.285) ระยะเวลาหลังเหตุการณ์ ( b= -.167) และสถานภาพสมรสคู่ ( b= -.195) ปัจจัยดังกล่าวสามารถ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลาได้ร้อยละ 25.2 (R2adj = .252) ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลาควรมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกด้านให้กับผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ปัจจัยทำนาย คุณภาพชีวิต ผู้ได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ
Refbacks
- There are currently no refbacks.