ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา

อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์, ปวริศ หะยีอามะ, ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ, กรชนก ตั้งนภาดล, ดวงกมล รัตตะพันธุ์, ปัทมา หะยีมะมิง, รัตนาภรณ์ ด้วงหวัง, ฟาฮัร หะยีอูเซ็ง

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะจอประสาทตาผิดปกติของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจคัดกรองภาวะจอประสาทตาผิดปกติทั้งหมด 3,018 คน มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 470 คน (ร้อยละ 15.57) ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระยะแรก เป็นเพศหญิงและมีอายุในช่วง 45-59 ปี พบผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า 23 Kg/m2 (ร้อยละ 33.3) มีระยะเวลาป่วยเป็นเบาหวานเฉลี่ย 7.38 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือดสะสม HbA1C ≥ 7% (ร้อยละ 25.7) ระดับแอลดีแอลในเลือด≥ 100 มก./ดล. (ร้อยละ 21.6) ระดับคลอเลสเทอ
รอลในเลือด ≥ 200 มก./ดล. (ร้อยละ 11.7) ระดับครีตินินในเลือดสูง>1.5 มก./ดล. (ร้อยละ 6.4) และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 47.1) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติคือระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 5-10 ปี และมากกว่า 10 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติ 2 และ 3 เท่า เมื่อเทียบผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานมาเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
คำสำคัญ : ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา  ปัจจัยเสี่ยงจอประสาทตาผิดปกติ

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.