การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรีและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาในกลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้ง
เพศชายและเพศหญิงในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 412 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบสำรวจภาวะซึมเศร้า มีค่าความไว 82.14 % และ ค่าความจำเพาะ 97.56
% วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 15.3 เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทาง
เศรษฐกิจ ปัจจัยทางจิตสังคม และ ปัจจัยทางชีวภาพ พบความชุกของภาวะซึมเศร้าสูงในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สามารถนำมาใช้วางแผนและเป็นแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพจิตและส่งเสริมป้องกัน
ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
เพศชายและเพศหญิงในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 412 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบสำรวจภาวะซึมเศร้า มีค่าความไว 82.14 % และ ค่าความจำเพาะ 97.56
% วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 15.3 เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทาง
เศรษฐกิจ ปัจจัยทางจิตสังคม และ ปัจจัยทางชีวภาพ พบความชุกของภาวะซึมเศร้าสูงในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สามารถนำมาใช้วางแผนและเป็นแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพจิตและส่งเสริมป้องกัน
ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
Refbacks
- There are currently no refbacks.