การพัฒนารูปแบบการพยาบาลด้านจิตสังคมผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

สนธยา มณีรัตน์, สุมณฑา บุญชัย

Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลด้านจิตสังคมผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม ที่รับไว้ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวินิจฉัยปัญหาโดยการศึกษา
เอกสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และการสนทนากลุ่มกับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยสูงอายุ รวม 32 คน พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีข้อจำกัดด้านความรู้ ทักษะ และ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ผู้
ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาพฤติกรรม ขาดทักษะสังคม และขาดทักษะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระยะที่ 2 การพัฒนาแผนงาน โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ จำนวน 25 คน ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการพัฒนาการพยาบาล
ด้านจิตสังคมผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม ซึ่งประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ 2) การพัฒนาเครื่องมือทางการพยาบาล ได้แก่ แบบประเมินภาวะสุขภาพ ชุดกิจกรรมการพยาบาลจิตสังคม คู่มือการให้คำปรึกษาญาติ แบบบันทึก
พฤติกรรม และแบบประเมินความรู้ และความพึงพอใจสำหรับญาติ เครื่องมือได้รับตรวจความตรงเชิงเนื้อหาแบบไม่ใช้สถิติกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน และตรวจความตรงเฉพาะหน้า (Face validity) จากพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 5 คน และ 3) 
การนำเครื่องมือไปในใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วย ระยะที่ 3 การปฏิบัติการ โดยพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน ได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมที่เข้ารับการรักษา ในระหว่างเดือนมิถุนายน 
2556 ถึง เดือนมกราคม 2557 และญาติ รวม 15 คน ระยะที่ 4 การประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาล โดย 1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขณะปฏิบัติการพยาบาล 2) การนิเทศ และสอนงาน 3) การบันทึก และ4) การประเมินความรู้ และ
ความพึงพอใจของญาติ ผลการประเมิน พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการพลุ่งพล่าน กระวนกระวาย (Agitation) ลดลง ร้อยละ 80 มีทักษะสังคมและสัมพันธภาพ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ด้าน ร้อยละ 85 มีความสามารถ
ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ร้อยละ 100 ญาติ มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นระดับ มากขึ้นไปร้อยละ 90 และมีความพึงพอใจบริการในระดับมากขึ้นไปร้อยละ 80  ผลการศึกษาครั้งนี้ สรุปว่าการพัฒนารูปแบบการพยาบาลด้านจิตสังคมผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม โดยการพัฒนาศักยภาพพยาบาล การใช้เครื่องมือทางการพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วย โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวปฏิบัติ 
สามารถช่วยลดปัญหาพฤติกรรม เพิ่มทักษะการดูแลตนเอง ทักษะสังคม และสัมพันธภาพของผู้ป่วย และ เพิ่มความรู้ และความพึงพอใจของญาติ รวมถึง ทำให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เกิดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อไปคำสำคัญ : สมองเสื่อม ผู้สูงอายุ ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ จิตสังคมบำบัด

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.